บ่อเจ็ดลูก หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษามาลายูว่า “ลากาตูโยะ” (ลากา-บ่อ,ตูโยะ-เจ็ด)
ตำนานบ้านบ่อเจ็ดลูกนี้เล่าสืบต่อกันมาว่า บุคคลกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่คือ
พวกชาวเลหรือชาวน้ำที่อพยพมาจากเกาะ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่งออกไป
ขณะที่อพยพมาอยู่นั้นพวกชาวเลได้ชุดบ่อเพื่อให้มีน้ำดื่มน้ำใช้
แต่ปรากฏว่าไม่มีน้ำออกมาเลย เขาพยายามขุดบ่อแล้วบ่อเล่าก็ไม่มีน้ำออกมา
จนกระทั่งถึงบ่อที่เจ็ดจึงมีน้ำออกมา ปัจจุบันบ่อทั้งเจ็ดลูกก็ยังปรากฏเป็นหลักฐานให้เห็นจนถึงทุกวันนี้
หมู่บ้านดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า “บ้านบ่อเจ็ดลูก”....
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
สังคมของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก
เป็นสังคมของชาวประมง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเกี่ยวเนื่องกับการทำประมงเสียส่วนใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นการทำอวนดักปลา
การจับสัตว์ทะเลเพื่อบริโภคและจำหน่าย
เพื่อหารายได้และส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมของชุมชนมุสลิมจึงเป็นชุมชน
ที่มีความเข้มแข็งมากในการแก้ปัญหาต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น